อนาคตเงินดิจิทัลสดใสหรือไม่ …คำตอบอยู่ที่ความปลอดภัย

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การทำธุรกรรมออนไลน์ หรือ การชำระเงินดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งเป็นตัวเร่งอย่างดีให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไปสู่การชำระเงินแบบไร้สัมผัสและอีคอมเมิร์ซมากขึ้น

ในรายงานของ McKinsey & Company ล่าสุดเปิดเผยว่า ผู้บริโภคที่ชำระเงินแบบดิจิทัลมีปริมาณเพิ่มขึ้น จาก 51% ในปี 2021 เป็น 62% ใน ปี2022 ซึ่งในจำนวนนี้การซื้อในแอปพลิเคชั่นและการชำระเงินแบบเพียร์ทูเพียร์ (P2P) มีการเติบโตมากที่สุด

การชำระเงิน P2P Transfer หรือ Peer-to-peer Transfer คือ การโอนเงินหรือการชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งมีแนวโน้มการขยายตัวในอัตราที่สูง ปัจจุบันมี Financial Technology หรือ FinTech เข้ามาให้เป็นตัวช่วยที่สำคัญ เพราะช่วยลดกระบวนการทำให้ง่ายสะดวกสบาย ค่าธรรมเนียมการโอนหรือชำระเงินถูกกว่าการโอนผ่านสถาบันการเงิน สามารถใช้บริการได้สะดวกรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ในระหว่างปี 2018 ถึง 2021 จำนวนธุรกรรมการชำระเงินรายย่อยที่ไม่ใช่เงินสดทั่วโลกเพิ่มขึ้นต่อปีที่ 13 % ขณะที่ในตลาดเกิดใหม่ตัวเลขอยู่ที่ 25 % การเติบโตที่เร็วสุดบางส่วนเกิดขึ้นในตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะในแอฟริกา (โมร็อกโก ไนจีเรีย และแอฟริกาใต้) และเอเชีย  ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่า ระหว่างงปี 2020 – 2026   อัตราการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 15% แรงหนุนที่ยอดเยี่ยมคือความสะดวกสบาย อีกทั้งรัฐมีนโยบายที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกรรมผ่านออนไลน์มากขึ้น และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป  คาดการณ์กันว่า การชำระเงินผ่านอุปกรณ์มือถือเพียงอย่างเดียวทั่วโลกจะเกิน 2 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2023  ซึ่งการแข่งขันหลักการของการให้บริการชำระเงินดิจิทัลในตลาดเกิดใหม่คือ ระหว่างธนาคารที่มีแอปฯธนาคารบนมือถือและกระเป๋าเงิน และกระเป๋าเงินมือถือของบุคคลที่สามซึ่งเป็นของบริษัทโทรคมนาคม แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และผู้เข้าร่วมระบบนิเวศอื่น ๆ

จากผลวิจัยของ WorldPay เผยให้เห็นพฤติกรรมของผู้บริโภคในการชำระเงิน ทัศนคติทางการเงิน และพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภครุ่นต่าง ๆ ทั่วโลก โดยสำรวจผู้บริโภคมากกว่า 15,000 รายใน 15 ประเทศ  5 เจนเนอเรชั่น ได้แก่ Gen Z (อายุ 18-23 ปี), Millennials (อายุ 24-39 ปี), Gen X (อายุ 40-54 ปี), Baby Boomers (55-73 ปี) เก่า) และรุ่นเบบี้บูมเมอร์ (อายุ 74 ปีขึ้นไป) พบว่า เทรนด์การชำระเงินออนไลน์แบบซื้อตอนนี้ จ่ายทีหลัง   กำลังได้รับการผลักดันครั้งใหญ่จากคนรุ่นใหม่ โซลูชั่นซื้อตอนนี้ จ่ายทีหลัง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า BNPL (Buy Now Pay Later) คือ สินเชื่อผ่อนชำระประเภทหนึ่ง โดยผู้ให้บริการทางการเงินให้ลูกค้าชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยการชำระเงินจำนวนเล็กน้อยและปลอดดอกเบี้ย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะจากลูกค้าจะได้รับความยืดหยุ่นทางการเงินมากขึ้น

โดยมูลค่าการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่าตัว ระหว่างปี 2019 ถึง 2021 หรือ 33 พันล้านดอลลาร์ถึง 120 พันล้านดอลลาร์ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 450 พันล้านเหรียญสหรัฐระหว่างปี 2021 ถึง 2026 การเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ขึ้นอยู่กับผู้ค้าที่มีอยู่จำนวนมากจะยอมรับโซลูชั่นเหล่านี้ และความร่วมมือครั้งใหญ่กับยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซ เช่น Amazon และ Shopify เป็นการเปิดโลกใบใหม่ให้แก่ผู้บริโภคได้ดีทีเดียว

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า นับตั้งแต่ปี 2558 การชำระเงินแบบดิจิทัลของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2565 การชำระเงินออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 92.4% ของการทำธุรกรรมทั้งหมด เหตุผลมาจากการขยายตัวของสินค้าและบริการที่สามารถชำระเงินออนไลน์ได้ รวมถึงการส่งเสริมการใช้ e-wallet ที่มีส่วนทำให้การชำระเงินแบบดิจิทัลเติบโตในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

และจากนโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมให้ใช้เครื่องสแกนคิวอาร์โค้ดบนกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ แอปพลิเคชั่นมือถือจากผู้ให้บริการทางการเงินเพื่อชำระเงิน ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยคุ้นเคยกับวิธีการชำระเงินออนไลน์มากขึ้น เรียกได้ว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมไร้เงินสด

ข้อมูลของ KReserch คาดว่าในปี 2566 ผู้บริโภคทำธุรกรรมการชำระเงินดิจิทัล ซึ่งเป็นการให้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต ธนาคารบนมือถือ และ E-Money  มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยจะมีมูลค่ารวม 36.5-37.9 พันล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 40-45.6% จากปีที่แล้ว ในขณะที่การชำระเงินที่ไม่ใช่แบบออนไลน์จะมีการเติบโตเพียงตัวเลขหลักเดียวเท่านั้น  

Aileen Chew ผู้จัดการประจำประเทศไทยของมาสเตอร์การ์ดประจำประเทศไทยกล่าวว่า “ผู้บริโภคในประเทศไทยอยู่ในอันดับต้น ๆ โดย 94% ใช้การชำระเงินดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงคิวอาร์โค้ดและการชำระเงินผ่านกระเป๋าเงิน”โดยไทยเป็นตัวอย่างของอนาคตของการชำระเงินดิจิทัล” ซึ่งเป็นผลการศึกษาแบบสำรวจทั่วโลกของมาสเตอร์การ์ดที่วิเคราะห์ทัศนคติ ความชอบ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคเกี่ยวกับวิธีการชำระเงินที่เกิดขึ้นใหม่ ครอบคลุมผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 35,000 คนใน 40 ประเทศ 

อย่างไรก็ตาม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลและการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะลดเช็คที่เป็นกระดาษลงครึ่งหนึ่งภายใน 5 ปีข้างหน้า  ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะ 20ปีของรัฐบาล

เมื่อผู้บริโภคชาวไทยทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น ผู้ให้บริการทางการเงินจึงต้องขบคิดกันให้หนัก พร้อมทั้งควรตรวจสอบความเสถียรและความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม ช่วยลดความเสี่ยง เพื่อให้ผู้บริโภคทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย สบายใจ หายห่วง…..เมื่อถึงตอนนั้น ฟังธงได้เลยว่า อนาคตของเงินดิจิทัลสดใสแน่นอน

Sources: Bangkok Post, KResearch, gsbresearch, Mastercard, WorldpayGlobal, GlobalData, McKinsey & Company