การเปลี่ยนแปลงและเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า

ในโลกปัจจุบัน การใช้พลังงานและ เทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนพฤติกรรมของผู้คน ไม่ว่าในแง่มุมของการอยู่อาศัย การติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงการคมนาคม.

หนึ่งในการคมนาคมที่สำคัญของมนุษย์คือการเดินทางโดยใช้รถยนต์ ซึ่งมีความสะดวกสบาย ซึ่งช่วยให้เราสามารถเดินทางไปในที่สถานที่ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ในปี 2021 ตลาดรถยนต์โลก มีมูลค่ามากถึง 2.86 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้น ซึ่งมีการคาดการว่า จะมีการปรับตัวขึ้นถึง 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2030 โดยมีอัตราการเติบโต 5.2 เปอร์เซ็นต่อปี

ปัจจุบันรถยนต์ที่มีการใช้การอย่างแพร่หลายคือรถยนต์แบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) ที่ใช้น้ำมันเป็นพลังงาน โลกมีการพัฒนาที่สำคัญคือการเปลี่ยนแหล่งพลังงานมาเป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) ที่ใช้พลังงานควบคู่กันทั้งจากเครื่องยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันและมอเตอร์ไฟฟ้ามาขับเคลื่อนร่วมกัน รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) ที่ใช้พลังงาน 2 ประเภทควบคู่กันเหมือน HEV แต่สามารถเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จได้เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) ที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียวโดยปราศจากเครื่องยนต์ แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากการชาร์จภายนอกเท่านั้น

จากการรายงานของ International Energy Agency (IEA) ระบุว่าในปี 2021 ทั่วโลกมีการขายรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทอยู่ที่ 6.6 ล้านคัน ซึ่งมีการเติบโตถึง 2 เท่าจากปี 2021 และ McKinsey ยังมีการคาดการยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นถึง 40ล้านคันในปี 2030 ซึ่งจะทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีส่วนแบ่งตลาดรถยนต์อยู่ที่ 40 เปอร์เซ็น ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่อยู่ที่ 54 เปอเซ็นในจีน และ 42.8 เปอร์เซ็นในยุโรป จากรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด.

จากเทรนด์การเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมี ประสิทธิภาพ, สมรรถนะ, ประหยัด และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มากกว่ารถยนต์ประเภท สันดาปภายใน ทำให้นโยบายจากส่วนต่างๆของโลกที่ต้องการจะสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าให้มีการใช้งานที่สูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น EU ได้ประกาศว่าภายในปี 2035 จะยกเลิกการใช้และขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน รวมถึงรถยนต์ Hybrid และอนุญาตให้ขายรถยนต์พลังงานสะอาดเท่านั้น ในสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศว่าทางการจะเริ่มลดการขายรถยนต์ที่ใช้แก๊สและน้ำมันลง และตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2035 รถยนต์และรถบรรทุกที่จดทะเบียนใหม่ทั้งหมดต้องเป็นต้องรถยนต์พลังงานสะอาด หรือ Zero Emission Vehicles (ZEVs) สำหรับประเทศไทยได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30@30 คือการตั้งเป้าผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นซ็น ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2030.

ในประเทศไทยรถยนต์ก็ได้รับการสนใจจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล เอกชน รวมถึงผู้บริโภค ทำให้รัฐเริ่มมีการออกนโยบายต่างๆ เพื่อหนุนการใช้งานและการผลิตของรถยนต์ในประเทศ ได้แก่

 1. เงินอุดหนุนรถยนต์ และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาท/คัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาท/คัน

2. ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8 เปอร์เซ็น เป็น 2 เปอร์เซ็น และรถกระบะเป็น 0 เปอร์เซ็น

3. ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ และนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40 เปอร์เซ็น สำหรับรถยนต์ ถึงปี 2566

4. ยกเว้นอากรขาเข้าส่วนประกอบรถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 9 รายการ เพื่อนำมาผลิตหรือประกอบรถ EV ในประเทศ (CKD) จำนวน 9 รายการ

อีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าคือเรื่องของ สถานชาร์จ ซึ่งมีความกังวลว่าสถานที่และสถานีชาร์จไฟฟ้าว่ามีความที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคหรือไม่ เพราะแม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้า สามารถชาร์จไฟฟ้าที่บ้านได้ตามอุปกรณ์การชาร์จที่มีมากับรถ แต่สำหรับผู้ใช้รถที่อาศัยในที่อยู่แนวดิ่ง เช่นคอนโดฯ แฟลต อพาร์ทเมนต์ ส่วนใหญ่ไม่มีการติดตั้งแท่นชาร์จในพื้นที่จอดรถ หรือไม่สะดวกต่อการลากสายชาร์จไปเชื่อมต่อระหว่างเต้าปลั๊กไฟฟ้ากับรถยนต์ ขณะที่สถานที่ทำงานทั้งภาครัฐและเอกชนยังมีการติดตั้งแท่นชาร์จน้อยแห่ง หากแก้ปัญหาในส่วนที่อยู่อาศัยแนวดิ่งและสถานที่ทำงานได้ ก็น่าจะเป็นสิ่งจูงใจให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งทำให้ในปัจจุบันทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจึงเร่งติดตั้งสถานีชาร์จ ให้ครอบคลุมต่อการใช้งานของผู้ใช้รถ ยกตัวอย่างเช่น

– การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ร่วมมือภาคเอกชน ติดตั้งสถานีชาร์จตามปั้นน้ำมันและพื้นที่เอกชนทั่วไปให้ได้อย่างน้อย 140 แห่งทั่วประเทศภายในปีนี้ จากเดิมมีอยู่แล้ว 45 แห่ง

– การไฟฟ้านครหลวง ร่วมมือกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มจุดติดตั้ง MEA EV Charging Station บริเวณร้านสะดวกซื้อ 7-11 จำนวน 2 แห่ง

– การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. ติดตั้งหัวจ่ายชาร์จไฟในพื้นที่ส่วนราชการและเอกชน ในกรุงเทพฯ ไปแล้ว 22 หัวจ่าย ภายในปีนี้จะติดตั้งให้ครบ 100 หัวจ่าย

– บริษัทบางจากฯ ร่วมมือค่ายรถ เร่งติดตั้งสถานีชาร์จให้ได้ 500 แห่งทั่วประเทศภายในปีนี้ จากเดิมมีอยู่แล้ว 45แห่ง

– กลุ่ม ปตท.เร่งขยายสถานีชาร์จให้ได้ 1,000 แห่งทั่วประเทศภายในปีนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ของโรงแรม ศูนย์การค้า และอาคารสำนักงาน

– ค่ายรถ EV ก็เร่งติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว และแบบปกติ รองรับรถEV ที่ทยอยออกสู่ท้องถนนอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้วางเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2030 จะต้องมีสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพิ่มอีก 567 แห่ง จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 827แห่ง เป็น 1,304 แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า มากขึ้น

SOURCES: STATISTA, MCKINSEY, YAHOOFINANCE, NNT, BANGKOKBIZNEWS, THAIRATH