เมืองอัจฉริยะ หมุดหมายประเทศไทยที่ต้องจับตามอง

สภาพเศรษฐกิจและการเป็นอยู่ของประชนโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าเรามองย้อนกลับไปในช่วงปี ค.ศ.1800 สภาพสังคมสังคมจะอยู่ในช่วงสังคมเกษตรกรรมที่ผู้คนมักจะอยู่ในที่ดินของตัวเอง เพื่อที่จะเพาะปลูกและผลิตสินค้าตอบสนองความต้องการผู้บริโภค

แต่หลังจากปี ค.ศ.1800 เมื่อภาคธุรกิจต่าง ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็น ภาคเกษตรกรรม การผลิต การทำเหมืองแร่ การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยี ส่งผลให้ในช่วงประวัตติศาสตร์ของมนุษยชาติเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)





ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้ที่อยู่อาศัยของประชากรในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ประชากรโลกเริ่มมีการย้ายถิ่นฐานที่อยู่และการทำมาหากิน จากนอกเมืองหรือในเขตทำการเกษตรเข้ามาอยู่ในเมืองเพิ่มมากขึ้น เพราะในเมืองมีความต้องการแรงงานและมีการเติบโตทางด้านเศรฐกิจสูงสืบเนื่องมามีการปฏิวัติอุตสาหกรรมมากกว่าเขตที่อยู่อาศัยอื่น ๆ

ถ้าเรามองตัวเลขทางสถิติในช่วงประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา จะเห็นแนวโน้มการย้ายจากสังคมชนบทเข้าสู่สังคมเมืองสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตัวเลขในปี 1985 มีประชากรที่อาศัยอยู่ในสังคมเมืองประมาณ 41.20% และเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนมาถถึงปี 2020 ที่ประชารกรในเมืองมีอยู่ถึง 56.20% และประมาณการว่าในอนาคตยังคงเติบโตสูงขึ้น คาดการจำนวนประชากรในสังคมเมืองในปี 2050 จะอยู่ที่ 62.50 %

สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการที่ประชากรส่วนใหญ่เริ่มเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองก็คือ การใช้ทรัพยากร รวมถึงเทคโนโลยีสนับสนุนการเป็นอยู่ของประชาชนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในภาครัฐบาล หรือภาคเอกชน เริ่มมีนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ในการใช้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของประชนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเทรนด์การพัฒนาเมืองที่ทันสมัยเพื่อตอบโจทย์และไลฟ์สไตล์ผู้อยู่อาศัย รวมถึงยังเป็นการบ่งบอกถึง การให้ความสำคัญของการพัฒนาเมืองประเทศต่างๆ หรือที่เราเรียกว่า Smart City

Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Promotion Agency) หรือ DEPA ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า คือ เมืองที่ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองรวมทั้งประชากรเป้าหมาย มุ่งเน้นการออกแบบที่ดี ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนเพื่อร่วมกันพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข  อย่างยั่งยืน

การที่จะพัฒนาเมืองให้น่าอยู่มีความเป็นอัจฉริยะมีมิติการพัฒนาได้หลายด้าน โดยการที่จะปรับเปลี่ยนเมือง ๆ หนึ่งให้เป็นเมืองอัจฉริยะอย่างสมบูรณ์แบบ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ 7 อย่าง ดังต่อไปนี้

  1. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) 
  2. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) 
  3. การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living)
  4. พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) 
  5. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
  6. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) 
  7. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) 

จากข้อมูลรายการรายได้ที่เกิดขึ้นจากตลาดของเมืองอัจฉริยะทั่วโลก มีการคาดการณ์ว่า จะมีรายได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2020 ตลาดมีมูลค่าโดยรวมที่ 116.36 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะเติบโตถึง 241.02 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025  นั่นก็คือ อีก 5  ปีข้างหน้า ซึ่งเมื่อนับ ณ ปีปัจจุบันเหลือเพียง 3 ปีเท่านั้น ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะเป็นไปอย่างที่คาดการณ์หรือไม่ เพราะช่วง 2- 3  ปีที่ผ่านทั่วโลกผจญกับสถานการณ์วิกฤตโควิด-19  ที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซบเซาลงอย่างมาก และปัจจุบันเริ่มเห็นโอกาสของการฟื้นตัวในหลายอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายมุมมองของการสร้างเมืองอัฉริยะ ซึ่งขอหยิบยกมุมมองที่น่าสนใจของเมืองที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองอัจฉริยะ และสามารถนำมาเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าสู่อุตสากรรมสร้างเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย

เริ่มจากเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเมืองที่ในแต่ละปีมีมูลค่าการลงทุนกับธุรกิจสตาร์ทอัพมากถึง 70 พันล้านเหรีญสหรัฐ และยังให้ความสำคัญกับ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในมิติต่าง ๆ เช่น การออกกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการปล่อยมลพิษในอาคาร มีนโยบายกระตุ้นการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ ทำให้มีบริษัทเป็นจำนวนมากสนใจที่จะพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมออกมา ล่าสุดเมืองนิวยอร์กเปิดตัวโครงการนำร่องที่มีการติดตั้งเซ็นเซอร์อัจฉริยะและเครือข่ายไร้สาย LPWN ไว้ทั่วย่านธุรกิจต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลในการนำมาใช้จัดการระบบเก็บขยะ หรือการติดตั้งตู้ชาร์จออนไลน์ไว้ทั่วเมือง (แทนที่ตู้โทรศัพท์แบบเดิม) เพื่อช่วยให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตราบรื่นไม่ขาดตอน ด้านกรมตำรวจก็มีการทดสอบใช้ซอฟท์แวร์ ที่ดึงข้อมูลประวัติอาชญากรรม ร่วมกับการสร้างแบบจำลองภูมิประเทศ และข้อมูลอื่น ๆ มาประมวลผลเพื่อคาดการณ์และตอบสนองต่อคดีอาชญากรรมต่าง ๆ  อีกด้วย

ส่วนในภูมิภาคยุโรป อย่างลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นเมืองที่มีสตาร์ทอัพและโปรแกรมเมอร์มากที่สุดในโลก เพราะที่นี่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีรอบด้าน เช่น โครงการ Civic Innovation Challenge สนับสนุนธุรกิจสตาร์ตอัพให้คิดค้นนวัตกรรมที่มาช่วยพัฒนาและแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ของเมือง ทั้งนี้ หนึ่งในเคล็ดลับสำคัญที่ลอนดอนนำมาใช้คือ นโยบายการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานเอกชน องค์กรการศึกษา หรือคนทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถเกิดความสนใจและเข้ามาร่วมงานกับภาครัฐได้อย่างสะดวกที่สุด 

นอกจากนี้ ยังมีโครงการ Connected London เชื่อมต่อสัญญาณ 5G ทั่วทั้งเมือง ทุกคนสามารถเข้าถึง Wi-Fi ในอาคารสาธารณะ หรือแม้กระทั่งตามท้องถนนและเสาไฟของลอนดอนยังได้รับการติดตั้งชุดเซ็นเซอร์ รวมทั้งมีจุดชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และมีเครือข่ายระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ใหญ่ที่สุดของโลก เป็นเมืองที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่สีเขียว โดยมีสวนสาธารณะในเมืองมากกว่า 3 พันแห่ง          

สำหรับในภูมิภาคเอเชีย เมืองที่ได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่าง คือ สิงคโปร์ แม้ว่าจะเป็นเมืองขนาดเล็ก แต่ก็มีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี จนไม่น่าแปลกใจที่มักจะติดอันดับเมืองอัจฉริยะโลก โดยมีการริเริ่มโครงการเมืองอัจฉริยะ Smart Nation มาตั้งแต่ปี 2014 โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตัวอย่างเช่น มีการนำเทคโนโลยีการใช้จ่ายแบบไร้เงินสดมาใช้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกับระบบขนส่งสาธารณะ

นอกจากนี้ ยังมีระบบสุขภาพแบบดิจิทัลเข้ามารับมือกับสังคมผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นการพบแพทย์ผ่านวิดีโอคอลร่วมกับการใส่อุปกรณ์ IoT เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นและตรวจวินิจฉัยคนไข้ได้ โดยเมื่อปี 2021 สิงคโปร์ได้ประกาศแผนสร้างเมืองใหม่ในแถบตะวันตกของสิงคโปร์ โดยมุ่งเน้นความเป็นเมือง Eco-Smart คือ มีความเป็นเมืองอัจฉริยะในขณะเดียวกันก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย โดยจะเป็นเมืองที่ไร้ยานยนต์ สร้างถนนและพื้นที่ปลอดภัยให้คนเดินเท้าและคนขี่จักรยาน 

ประเทศไทยแม้ว่าจะมีการตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาเมืองต่าง ๆ 100 เมือง ให้เป็นเมืองอัจฉริยะภายในปี 2565 แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผลกระทบจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลต่อภาพรวมของการพัฒนาประเทศรวมถึงแนวทางต่างๆจากรัฐบาล แต่ในเมืองสำคัญต่างในแต่ละภูมิภาค เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และภูเก็ต ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้องค์ประกอบ 7 อย่าง ทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อเพื่อจะกลายเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริงและยั่งยืน

SOURCES: STATISTA, DEPA, HHCTHAILAND, SMARTNATION.GOV.SG, CENTREFORLONDON, EDC.NY