ลดการบริโภคโซเดียมทั่วโลก….. ถึงเวลาที่ต้องการเก็บภาษีแล้วหรือยัง

ปัจจุบันมีการพูดกันว่า การบริโภคโซเดียม (Sodium) ในปริมาณที่มากเกินพอดี ส่งผลเสียต่อร่างกาย เป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะโรคความดันโลกหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 

โซเดียม (Sodium) คือ สารอาหารที่ร่างกายใช้ควบคุมและรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย ช่วยรักษาสภาพความเป็นกรดและด่าง ปัจจุบันเราได้รับโซเดียมจากอาหารที่บริโภคโดยไม่รู้ตัวอยู่แล้ว ซึ่งเพราะโซเดียมไม่ได้รสชาติเค็มจัดเกลือแบบเกลือเท่านั้น แต่มีอยู่มากในเครื่องปรุงรสพวกผงชูรส ซุปก้อน ซอส ซีอิ๊ว เป็นต้น โดยในแต่ละวันไม่ควรบริโภคเกิน 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4-5 ช้อนชา

ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า อาหารที่ทีโซเดียมสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางสุขภาพที่รุนแรง การบริโภคโซเดียมเฉลี่ย 1,500 -2,300 มก.ต่อวันถือว่ายอมรับได้  ทั้งนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ    ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศสมาชิกลดการบริโภคเกลือลง 30% ภายในปี 2568   ส่งผลให้ผู้ประกอบการด้านอาหารต้องปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญและรักสุขภาพมากขึ้น โดยบริษัทหลายแห่งแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วยการนำส่วนประกอบที่ช่วยลดโซเดียมมาใช้ เช่นเกลือแร่ กรดอะมิโน และสารสกัดจากยีสต์ รวมทั้งทรีฮาโลส โปรตีนจากพืขไฮโดรไลซ์ และนิวคลีโอไทด์ เป็นต้น

ปัจจุบันการรณรงค์รลดการบริโภคโซเดียมของหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกเป็นไปแบบสมัครใจ บางประเทศก็มีการเข้มงวด โดยนำมาตรการทางภาษีมาใช้  เป็นการป้องกันการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ  และยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ผลิตปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อโภชนาการที่ดี ในขณะเดียวกันต้องสามารถแข่งขันได้ในตลาด

ยุโรป

  • ในปี 2554 ฮังการีใช้ภาษีที่เรียกว่า Public Health Product Tax (PHPT) สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและเกลือในปริมาณสูง เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน ขนมที่มีรสเค็ม เครื่องปรุง และแยมผลไม้
  • ในปี 2561 โปรตุเกสเสนอภาษีสำหรับอาหารแปรรูปที่มีรสเค็ม แต่รัฐสภาลงมติไม่เห็นด้วยและเสนอเป้าหมายโซเดียมในอุตสาหกรรมโดยสมัครใจแทน

ละตินอเมริกา

  • ในปี 2557 เม็กซิโกใช้ภาษี 8% สำหรับ ‘อาหารที่ไม่จำเป็น’ ซึ่งเกินเกณฑ์แคลอรี่ ซึ่งรวมถึงของว่างรสเค็ม 

อเชีย

  • ประเทศไทยกำลังพิจารณาที่จะเก็บภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีรสเค็ม เป้าหมายคือ ลดปริมาณโซเดียมให้ต่ำกว่า 2,800 มก. ต่อวันภายใน 8 ปี มีกำหนดจะเริ่มใช้ในปี 2564 แต่เลื่อนออกไปเพื่อให้เวลาเศรษฐกิจฟื้นตัวหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 
  • นอกจากนี้ กรมอนามัยของฟิลิปปินส์ยังได้เสนอเก็บภาษีอาหารที่มีรสเค็มในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา  แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยได้รับความสนใจจากฝ่ายนิติบัญญัติ

อย่างไรก็ตาม การนำมาตรการภาษีมาใช้ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกัน เพราะไม่ง่ายเลยที่จะพิสูจน์ความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างการใช้ภาษีกับการลดการบริโภค โดยประเทศฮังการี ได้มีการประเมินหลังจากเปิดตัว PHPT (Public Health Product Tax) ที่ใช้ในการติดตามผลกระทบต่อประชากร โดยพบว่า ประชากรที่เป็นผู้ใหญ่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีรสเค็มเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ถึง 2557  ในขณะที่การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ต้องเสียภาษีอื่น ๆ ลดลง สรุปได้ว่า ภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีรสเค็มมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งได้ทำการศึกษาหลังจากได้มีการเก็บภาษี 1 ปี โดยได้ประเมินว่า การซื้ออาหารที่ไม่จำเป็นลดลง 5.1% แต่ยังไม่มีการศึกษาในภายหลังเพื่อวัดผลว่า ภาษีนี้มีผลกระทบต่อคุณภาพทางโภชนาการของอาหารหรือไม่  

สำหรับอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย กำลังเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหา เพื่อลดการบริโภคโซเดียม รวมถึงการปรับสูตรผลิตภัณฑ์ และได้มีการพูดถึงการเก็บภาษีเกลืออย่างต่อเนื่องมาตั้งปี  2561แต่ก็ยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยในช่วงปลายปี 2565 ได้มีการหยิบยกมาพูดถึง และมีท่าทีว่าจะจริงจังกับเรื่องนี้มากขึ้น ซึ่งภาคอุตสาหกรรมและรัฐบาลคาดหวังว่าจะหาทางออกอื่นแทนการเก็บภาษีได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าอย่างมากในการนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายเพราะ ในแต่ละวันยังมีการบริโภคโซเดียมโดยเฉลี่ยในอัตราที่สูงกว่าระดับที่แนะนำมาก รวมทั้ง อัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของโลก  ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกันก็ต้องหาแนวทางหรือวิธีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์สุขภาพผู้บริโภค รวมทั้งต้องหาแนวทางและต้องร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายโซเดียมต่ำ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อรสชาติ เนื้อสัมผัส และอายุการของเก็บรักษา

Sources: WHO, Dietary Guidelines for Americans, ThaiHealtth Promotion Foundation