Social Commerce โตรับพฤติกรรมการซื้อของคนไทย

โลกยุคปัจจุบันปัจจัย 4  มีอาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิติอีกต่อไป เมื่อเทคโนโลยีที่เติบโตเร็วและแรงเข้ามาดิสรัพ (Disrupt) เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคม  ปฏิเสธไม่ได้ว่า โทรศัพท์มือถือได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของเราไปแล้ว เพราะช่วยให้การติดต่อสื่อสารได้สะดวกรวดเร็ว  เชื่อมต่อถึงกันได้ทุกที่ทุกเวลา และยังสามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวผ่านช่องทางต่าง ๆ  อาทิ Line, Facebook, Instagram, Twitter ฯลฯ ที่เข้าถึงกลุ่มคนหรือกลุ่มสังคมบนโลกออนไลน์ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน

ข้อมูลจาก We Are Social  ณ เดือนมกราคม 2022 ระบุว่า ประชากรโลกเข้าถึงโทรศัพท์มือถือจำนวน 5.31พันล้านคน หรือคิดเป็น 67.1% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในขณะที่มีผู้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มีประมาณ 4.95 พันล้านคน หรือคิดเป็น 62.5% จากจำนวนประชากรโลก

ทั้งนี้ มีข้อมูลจากการรายงานเมื่อปี 2021 พบว่า คนหนึ่งคนจะใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง 58 นาที ไปกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านแพลตฟอร์มาต่าง ๆ โดยพบว่า 32.5% ของการใช้งานในแต่ละวันคือ การใช้งานบนแอปพลิเคชันต่าง ๆ ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network)  หรือ สื่อสังคมออนไลน์

นอกจากนี้ ยังมีการรายงานว่า แอปพลิเคชั่นยอดนิยมที่ผู้ใช้งานมากที่สุด โดย Facebook ครองอันดับ 1 โดยมีผู้ใช้งาน 2.91 พันล้านคน ตามด้วย YouTube มีผู้ใช้งาน 2.56 พันล้านคน  WhatsApp  มีผู้ใช้งาน 2  พันล้านคน และ Instagram 1.47 พันล้านคน สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ อันดับที่ 5 คือ WeChat ซึ่งมีผู้ใช้งานกว่า 99% จากประเทศจีนเพียงอย่างเดียว และสามารถขึ้นมาอยู่ใน 5 อันดับแรกได้ โดยมีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 1.26 พันล้านคน

นอกจากนี้ ยังมีการรายงานว่า แอปพลิเคชั่นยอดนิยมที่ผู้ใช้งานมากที่สุด โดย Facebook ครองอันดับ 1 โดยมีผู้ใช้งาน 2.91 พันล้านคน ตามด้วย YouTube มีผู้ใช้งาน 2.56 พันล้านคน  WhatsApp  มีผู้ใช้งาน 2  พันล้านคน และ Instagram 1.47 พันล้านคน สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ อันดับที่ 5 คือ WeChat ซึ่งมีผู้ใช้งานกว่า 99% จากประเทศจีนเพียงอย่างเดียว และสามารถขึ้นมาอยู่ใน 5 อันดับแรกได้ โดยมีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 1.26 พันล้านคน

โซเชียล คอมเมิร์ซ Social Commerce คือ การค้าขายสินค้าหรือบริการต่าง  ๆ ผ่านโซเชียลมีเดียโดยตรง ทุกขั้นตอนการซื้อของออนไลน์จะเกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการหาสินค้าหรือการหาข้อมูลสินค้า การติดต่อผู้ขาย การตกลงซื้อสินค้า ไปจนถึงการซื้อขาย

การซื้อขายที่ครบวงจร สะดวก รวดเร็วนี้เองทำให้ผู้ค้าทั้งรายย่อย รวมถึงแบรนด์ต่าง ๆ สนใจทำธุรกิจผ่านโซเชียลมีเดียมากขึ้น เพราะสามารถสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ อีกทั้งยังสามารถเห็นรีวิวสินค้าและบริการของผู้ซื้ออื่น ๆ ได้ด้วย และผู้ขายยังได้ประโยชน์ตรงที่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ในปี 2022 คนไทย มีผู้บริโภคออนไลน์ที่ซื้อสินค้าและบริการผ่านโซเชียลมีเดียเป็นอันดับ 1 ของโลกที่ 88% ตามด้วยประเทศอินเดียเป็นอันดับ 2 ที่ 86% ในขณะที่ 2 มหาอำนาจโลกอย่างจีน และมีสหรัฐอมริกา มีผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นอันดับ 4 ที่ 84% และ อันดับที่ 11 ที่ 63 % ตามลำดับ แสดงว่า Social Commerce ในประเทศไทยมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ตลาดการซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียในไทย ยังมีขนาดเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ที่มีมูลค่าตลาดรวม 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นรองแค่เวียดนามเท่านั้น

สำหรับช่องทางการซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียในประเทศไทยนั้น Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้บริโภคเข้าถึงมากที่สุด ที่ 86% ขณะที่ไลน์ตามมาเป็นอันดับ 2 ที่ 86% Instagram 35% และ สุดท้าย Twitter 8%  

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ ความถี่ในการจับจ่ายใช้สอยของคนไทยผ่าน  Facebook ซึ่งเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคเข้าถึงมากที่สุด จากการศึกษาเมื่อปี 2021  โดยกลุ่มตัวอย่าง 552 คน  มีอายุมากกว่า 15  ปี  ผลการศึกษาพบว่า คนไทยกว่า 10% ซื้อของผ่านโซเชียลมีเดีย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์  22% ซื้อของผ่านโซเชียลมีเดีย 1-3 ครั้งต่อเดือน 20 %  ซื้อผ่านโซเชียลมีเดีย 3-5 ครั้งในช่วง 6 เดือน และ 34%  ซื้อผ่านโซเชียลมีเดีย 1-2 ครั้งในช่วง 6 เดือน ในขณะที่มีเพียง 14% ที่ไม่ได้มีการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย

จากอัตราการเติบโตของ Social Commerce ในประเทศไทยนับว่าได้รับผลกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-1แต่เมื่อโลกกำลังกลับเข้าสู้สภาวะปกติใหม่ (New Normal) การใช้ชีวิตประจำวันบางส่วนย้ายไปอยู่บนโลกออนไลน์อย่างถาวร จึงมีผลให้ตลาด Social Commerce มีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปได้เนื่อง เพราะทั้งผู้บริโภคและผู้ขายได้รับประโยชน์ในหลากหลายแง่มุม

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ เช่น การชำระค่าสินค้าและบริการที่ยังคงเป็นรูปแบบพื้นฐานด้วยการโอนเงินผ่านธนาคาร ทั้ง Mobile Banking หรือ Internet Banking ตลอดจนการโอนเงินผ่าน ATM ทำให้เกิดการโกงได้ทั้งในฝั่งผู้ซื้อและผู้ขาย รวมไปถึงการรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการให้อยู่ในระดับที่มีมาตรฐานสำหรับผู้ขายเพื่อตอบสนองความต้องการ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความพึ่งพอใจให้แก่ผู้บริโภค

SOURCE: STATISTA, WEARESOCIAL, YAHOOFINANCE, IPLANDIGITAL, KRUNGSRI