METAVERSE โอกาสและความเสี่ยง? ในอุตสาหกรรมการผลิต

เมื่อพูดถึง ‘Metaverse’ สิ่งแรกๆ ที่เรามักนึกถึงคงหนีไม่พ้น ‘ข้อดีและโอกาสใหม่ๆ’ ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับชีวิตของเราในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างไร้ขีดจำกัด ไร้ข้อบังคับ พร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สมจริงผ่านเทคโนโลยี AR, VR ต่างๆและเทคโนโลยีนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา การแพทย์ การลงทุน การตลาด และอีกมากมาย

ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวมเร็ว ช่วยอำนวยนความสะดวกให้กับมนุษย์อย่างมาก เช่นเดียวกันกับ Metaverse คำศัพท์ใหม่แห่งอนาคตที่ได้รับการพูดถึงในช่วงปี 2022 ที่ผ่านมา โดยMark Zuckerberg CEO ของ Facebook โดยภายหลังเปลี่ยนเป็น Meta

Bloomberg Intelligence ประมาณการว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse จะเติบโตประมาณ 7.83 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2567 คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย 13.1% ต่อปี จึงเป็นโอกาสของนักลงทุนที่จะเข้ามาสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน

แต่เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ Metaverse ก็เช่นกันย่อมมีทั้ง โอกาสและความเสี่ยง ในการดำเนินอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นอุตสาหกรรมการผลิต

โอกาสของ Metaverse ในอุตสาหกรรมการผลิต

ปัจจุบัน เป้าหมายหลักของผู้ประกอบการที่วางแผนจะนำ Metaverse มาใช้ ส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นไปที่การหาโอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่ในตลาดผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นช่องทางค้าปลีกใหม่ที่สร้างประสบการณ์เสมือนจริงในการเลือกซื้อสินค้า หรือแม้แต่การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่บนโลกเสมือน เป็นต้น 

จากรายงานของ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า Metaverse มียังศักยภาพในการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตได้เช่นกัน ตั้งแต่การออกแบบสินค้า การจัดซื้อจัดหา การผลิต ตลอดจนการบริหารคลังสินค้า โดยมีส่วนช่วยให้การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่ายขึ้น ผ่านการจำลองวัตถุต่างๆ ในโลกจริง หรือที่เรียกว่า Digital twin โดยวัตถุจำลองดังกล่าวในโลกเสมือนในลักษณะเดียวกันกับบนโลกจริงได้ 

DIGITAL TWIN

ภายใต้แนวคิดนี้ปัจจุบัน ได้มีผู้ประกอบการรายใหญ่ในหลายอุตสาหกรรมของโลกได้เริ่มทดลองนำเทคโนโลยี Metaverse มาใช้งานบ้างแล้ว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี Metaverse ในอุตสาหกรรมการผลิตยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกตามการพัฒนาของเทคโนโลยีในระยะข้างหน้า โดยมีการนำ Metaverse หรือ Digital twin มาประยุกต์ใช้ 4 ส่วนคือ 1.การออกแบบสินค้า 2.การจัดซื้อจัดหา 3.การผลิต 4.การบริหารคลังสินค้า

ความเสี่ยงของ Metaverse ในอุตสาหกรรมการผลิต

อย่างที่กล่าวไปเหรียญมี 2 ด้านเสมอในโอกาสย่อมมีความเสี่ยง ปฏิเสธไม่ได้ว่า Metaverse เป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตโดยการดำเนินธุรกิจต่าง ย่อมเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลหรือธุรกรรมทางการเงิน และอื่นๆอีกมากมายที่เป็นข้อมูล Sensitive ถึงแม้ว่าจะมีการนำเทคโนโลยี Blockchain ที่เป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง แต่ก็สามารถเกิดช่องโหว่ได้เช่นกัน และในส่วนของระบบ Decentralized ที่ยังมีคำถามว่าใครเป็นผู้ปกป้องดูแลข้อมูลที่ถูกรวบรวม และผู้ใช้จะนำสินทรัพย์ที่ถูกขโมยคืนได้อย่างไรในกรณีที่เกิดเหตุขึ้น? ซึ่งอาจนำมาสู่ อาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime)

เราจึงอยากยกตัวอย่างความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นของ Metaverse ในอุตสาหกรรมการผลิต 2 ข้อดังนี้

1. อาจเกิดอาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime)

2. Privacy & Security ความปลอดภัยของข้อมูล

เนื่องจาก Metaverse ยังเป็นแนวคิดใหม่ ระบบความปลอดภัยและวิธีการป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์อาจจะยังไม่รัดกุม บวกกับรัฐบาลยังไม่มีอำนาจมากพอที่จะจัดการได้อย่างเต็มที่จึงเป็นไปได้ที่จะเกิดการฉ้อโกง การฟอกเงิน สินค้าผิดกฎหมาย การค้าบริการ และการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้น

เรื่องความเป็นส่วนตัวเป็นปัญหาบนโลกอินเทอร์เน็ตมาโดยตลอด ซึ่งมีหลายคนไม่รู้ว่าข้อมูลของตนเองถูกรวบรวมและหลุดออกไปนอกออกไป เช่นการออกแบบโรงงาน หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ อาจมีการหลุดไปยังคู่แข่งภายนอกได้

เรื่องความเป็นส่วนตัวเป็นปัญหาบนโลกอินเทอร์เน็ตมาโดยตลอด ซึ่งมีหลายคนไม่รู้ว่าข้อมูลของตนเองถูกรวบรวมและหลุดออกไปนอกออกไป เช่นการออกแบบโรงงาน หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ อาจมีการหลุดไปยังคู่แข่งภายนอกได้

อย่างไรก็ดี Metaverse ก็ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่เป็นอนาคตและมีโอกาสอีกมากมายในทางธุรกิจ หรือการใช้ชีวิตของมนุษย์ในยุคถัดไปและจะเข้ามาช่วยให้ชีวิตของเรามีความสะดวกสบาย และ Productivity ที่มากขึ้น เชิงก็ธุรกิจก็สามารถนำมาใช้ลดต้นทุน ลดเวลาการดำเนินการ จนไปถึงการเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจนั้นๆ ในระยะยาว

ท้ายที่สุดแล้วผู้ใช้ต้องรู้จักปกป้องตนเองเมื่อเข้าสู่โลก Metaverse เนื่องจากระบบที่ซับซ้อนมากขึ้นอาชญากรไซเบอร์ในพื้นที่นี้ก็ย่อมมีวิธีการที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องหาความรู้และมีความเข้าใจว่าต้องใช้ข้อมูลใดบ้างเพื่อเข้าถึงเพื่อป้องกันความเสี่ยง และในส่วนบริษัทเจ้าของ Metaverse ที่รวบรวมข้อมูล ก็ต้องพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องข้อมูลของผู้ใช้ ทั้งนี้ ในอนาคตธุรกิจต่างๆ ก็อาจให้ความสนใจและมีความมั่นใจในการร่วมงานกับ Metaverse มากขึ้น เมื่อปัญหาและความเสี่ยงทางไซเบอร์ต่างๆ ได้ถูกจัดการได้ดีขึ้น 

Source : Kasikorn Research Center, SCB10X, MGR, BERNARD MARR