จับตาตลาดกัญชาเพื่อสุขภาพ

กระแสกัญชาเพื่อสุขภาพที่นำมาใช้ทางการแพทย์ โดยเฉพาะเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเป็นที่กล่าวถึงในหลายประเทศ และมีความต้องการเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ใช้กัญชาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการกระตุ้นการเติบโตของตลาดอาหารและเครื่องดื่มกัญชาทั่วโลก

ปัจจุบันนอกจากใช้กัญชาเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อาหารมากมายที่มี ‘กัญชา’ เป็นส่วนผสม เช่น พิซซ่า อมยิ้ม ช็อคโกแลต ซีเรียลอาหารเช้า คุกกี้ช็อกโกแลต/บราวนี่ รวมทั้งในผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องดื่ม ก็นำกัญชาไปเป็นส่วนผสมที่หลากกหลายขึ้น เช่น เป็นส่วนผสมในกาแฟ ชา และล่าสุด มีการผลิตเบียร์ ไวน์ นอกจากนี้ ยังมีการนำ กัญชง (พืชเศรษฐกิจที่มีชื่อทางพฤษกศาสตร์เดียวกันกับกัญชา มีสรรพคุณช่วยให้ผ่อนคลาย หลับได้ง่าย แต่มีสาร Tetrahydrocannabinol น้อยกว่าจึงช่วยให้มีความผ่อนคลายมากขึ้น) มาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นมและน้ำอัดลมที่ทำจากข้าวบาร์เลย์อีกด้วย

จากความนิยมที่เพิ่มขึ้น จึงได้มีการนำทำให้การกัญชาทางการแพทย์และผลพลอยได้ของประเทศต่างๆ มาทำให้เป็นใช้ที่ถูกกฎหมาย ส่งผลให้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ผสมสาร CBD (Cannabidiol) ซึ่งมีสรรพคุณเหมือนยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ CBD เป็นสารประกอบที่ไม่ออกฤทธิ์ทางจิตของต้นกัญชา สามารถรักษาสภาวะสุขภาพต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และการยกระดับอารมณ์

นอกจากนี้ การที่ World Anti-Doping Agency (WADA) ได้รับรองให้สามารถนำสาร CBD ไปใช่ในวงการกีฬาโดยใช้รักษาอาการอักเสบและความเจ็บปวด ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้รับอานิสงส์จากการเปิดรับโอกาสอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มอัดลมหลายรายต่างก็ให้ความสนใจ และมีการลงทุนอย่างมากเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาตอบสนองความต้องการผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดนี้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

อีกทั้ง ความกังวลด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น เช่น ภาวะซึมเศร้า (ประมาณ 264 ล้านคนต้องทนทุกข์ทรมานในปี 2562) และความวิตกกังวล ได้กระตุ้นความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ใช้กัญชาซึ่งได้แสดงการตอบสนองในเชิงบวก ด้วยเหตุนี้ ผู้คนจึงเริ่มบริโภคเครื่องดื่มที่ผสมสาร CBD ในชีวิตประจำวันากยขึ้น ซึ่งช่วยกระตุ้นการเติบโตของตลาดได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันตลาดเครื่องดื่ม CBD ทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีส่วนแบ่ง 70.9% คาดการณ์ตลาดเครื่องดื่ม CBD ทั่วโลกจะแตะ 2 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2569 การเติบโตที่คาดการณ์ไว้ส่วนใหญ่มาจากการบริโภคเครื่องดื่มที่ผสมสาร CBD เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ความนิยมของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ CBD โดยเฉพาะกลุ่มมิลเลนเนียล

อเมริกาเหนือยังคงเป็นตลาดเครื่องดื่มกัญชาที่โดดเด่น ผลิตภัณฑ์ CBD โดยมีแรงผลักที่สำคัญทำให้ตลาดโตคือ ขณะนี้ 33 รัฐในอเมริกาได้รับรองการใช้กัญชาทางการแพทย์แล้ว ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าตลาดเครื่องดื่มที่ผสมสาร CBD ในสหรัฐอเมริกาภายในปี 2566 จะมีมูลค่าตลาด 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าขนาดปี 2561 ถึง 16 เท่า

ในประเทศไทย กัญชาถูกจัดประเภทเป็นสารควบคุมตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 2473 อย่างไรก็ตาม จากการประกาศ
ใช้กฎระเบียบใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ไทยจึงกลายเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ออกกฎหมายกัญชาทางการแพทย์ โดยได้มีการสำรวจเกี่ยวกับความชอบของกัญชาในปี 2564 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 50.8% ระบุว่า ถ้ามีการผลิตออกมาก็จะรับประทาน โดยให้เหตุผลว่า เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณเป็นยา ขณะที่ 49.2%
ระบุว่า จะไม่รับประทานโดยให้เหตุผลว่า ติดภาพว่าเป็นยาเสพติด

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ ต่อนโยบายกัญชาเสรี ในระหว่างวันที่ 5-15 ก.ค.65 พบว่า ภาคประชาชนส่วนใหญ่ ยังให้ความเป็นห่วงว่าประชาชนจะใช้ผิดประเภท เพราะประชาชนยังมองว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษถึง 63.5% ผลสำรวจยังพบว่า 92.2 % กังวลการใช้กัญชาในกลุ่มเด็กและเยาวชนและกังวลว่าจะเสพติดกัญชาถึง 89.2 % และเห็นว่า เด็กและเยาวชนจะได้รับผลกระทบต่อการเปิดเสรีกัญชาถึง 91.4 % มากที่สุด รองลงมาคือผลกระทบต่อสังคม

จากผลสำรวจสรุปได้ว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วยกับนโยบายเปิดเสรีกัญชา ทั้งเรื่องของความรู้ด้านกัญชา ผลกระทบจากการใช้กัญชาในวงกว้าง ที่สำคัญกังวลว่า เด็กและเยาวชนเข้าถึงกัญชาได้ง่ายโดยเฉพาะในเชิงสันทนาการและเสพติด ซึ่งถือเป็นประเด็นทางสังคมที่อ่อนไหว

ในทางกลับกันหากมองทางด้านเศรษฐกิจต้องยอมรับว่า ธุรกิจกัญชาและกัญชง สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้หลายหมื่นล้านบาท การเปิดเสรีกัญชาจึงมีทั้งมุมบวกและลบ ซึ่งเส้นทางระหว่างสารเสพติดกับพืชเศรษฐกิจคาบเกี่ยวกันแทบแยกไม่ออก คงต้องอยู่ที่การใช้และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเหมาะสม

ดังนั้น ขอเสนอแนะว่า ควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงผลดีผลเสียของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชา ทั้งในระยะสั้นระยะยาว รวมทั้งการกำหนดปริมาณการบริโภคที่ชัดเจน มีการกำหนดกลุ่มอายุผู้ที่สามารถบริโภคได้โดยไม่มีอันตราย และสถานที่สำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์ควรมีมาตรฐานหรือมีการระบุข้อกำหนดในการใช้และการผลิต ที่สำคัญ คือควรบทลงโทษกรณ๊ที่มีการใช้มากเกินปริมาณที่กำหนด เป็นต้น

Sources : Globaldrinks.com, Visual Capitalist, ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพธุรกิจ